ในอนาคต คนจะตกงานเพราะ AI จริงหรอ???
ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence)
คืออะไร ???
>>> วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกัน 🔥
ปัญญาประดิษฐ์
(AI : Artificial Intelligence)
คือ
AI ถูกจำแนกเป็น 3 ระดับตามความสามารถหรือความฉลาดดังนี้
1 ) ปัญญาประดิษฐ์เชิงแคบ (Narrow AI ) หรือ ปัญญาประดิษฐ์แบบอ่อน (Weak AI) : คือ AI ที่มีความสามารถเฉพาะทางได้ดีกว่ามนุษย์(เป็นที่มาของคำว่า Narrow(แคบ) ก็คือ AI ที่เก่งในเรื่องเเคบๆหรือเรื่องเฉพาะทางนั่นเอง) อาทิ เช่น AI ที่ช่วยในการผ่าตัด(AI-assisted robotic surgery) ที่อาจจะเชี่ยวชาญเรื่องการผ่าตัดกว่าคุณหมอยุคปัจจุบัน แต่แน่นอนว่า AIตัวนี้ไม่สามารถที่จะทำอาหาร ร้องเพลง หรือทำสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากการผ่าตัดได้นั่นเอง ซึ่งผลงานวิจัยด้าน AI ณ ปัจจุบัน ยังอยู่ที่ระดับนี้
2 ) ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป (General AI ) : คือ AI ที่มีความสามารถระดับเดียวกับมนุษย์ สามารถทำทุกๆอย่างที่มนุษย์ทำได้และได้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับมนุษย์
3) ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม
(Strong AI ) : คือ AI ที่มีความสามารถเหนือมนุษย์ในหลายๆด้าน
" จะเห็นได้ว่าวิทยาการของมนุษย์ปัจจุบันอยู่ที่จุดเริ่มต้นของ
AI เพียงเท่านั้น "
ประวัติย่อของ AI
AI เป็นคำยอดฮิตที่ปัจจุบัน
แม้ว่ามันไม่มันจะไม่ใช่คำที่เพิ่งถูกบัญญัติขึ้นมาใหม่แต่อย่างใด ในปี 1956 , กลุ่มของผู้เชี่ยวชาญแนวหน้าจากหลายๆวงการได้ร่วมกันทำงานวิจัยเกี่ยวกับ
AI มีผู้นำทีมได้แก่ John McCarthy
(Dartmouth College), Marvin Minsky (Harvard University), Nathaniel Rochester
(IBM) และ Claude Shannon (Bell Telephone
Laboratories) โดยมีจุดประสงค์หลักของงานวิจัย คือ
การค้นหามุมมองและหลักการต่างๆที่ใช้การเรียนรู้อย่างครอบคลุมเพื่อที่จะนำมาประยุกต์ใช้ให้เครื่องจักรสามารถเรียนรู้ได้เช่นกัน
โดยมีเนื้อหาของโครงการมีดังนี้
1.) คอมพิวเตอร์อัตโนมัติ
(Automatic Computers)
2.) จะสามารถเขียนโปรเเกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
( How Can a Computer Be Programmed to Use a Language?)
3.) โครงข่ายประสาทเทียม
(Neural Nets )
4.) การพัฒนาด้วยตนเอง (Self-improvement )
องค์ความรู้เหล่านี้เป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีความฉลาดมากขึ้น และยังทำให้ความคิดที่จะการสร้าง AI มีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
ชนิดของ AI (Type of Artificial Intelligence)
AI ถูกแบ่งออกเป็น
3 sub field ได้แก่
1) ปัญญาประดิษฐ์
(Artificial Intelligence)
2) การเรียนรู้ของเครื่อง
(Machine learning)
3) การเรียนรู้เชิงลึก
(Deep Learning)
AI vs. Machine Learning
ในปัจจุบัน อุปกรณ์(device)ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน
ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน หรือ เเม้กระทั้งอินเทอร์เน็ตก็มีการประยุกต์ใช้ AI ในหลายครั้งๆ
เวลาที่บริษัทใหญ่ๆจะประกาศให้โลกรับรู้ถึงนวัตกรรมใหม่สุดของพวกเขา
พวกเขามักจะใช้คำว่า AI หรือ machine learning เสมือนว่ามันเป็นคำที่ใช้เเทนกันได้
แต่อันที่จริงเเล้ว AI กับ machine learning นั้นมีข้อแตกต่างกันบางประการ AI- artificial intelligence
คือ
วิทยาศาสตร์ของการฝึกฝน (train) เครื่องจักร (machine ) โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาของมนุษย์ "
ถูกนิยามเมื่อ 1950s เมื่อเหล่านักวิทยาศาสตร์เริ่มให้ความสนใจกับปัญหาที่ว่า
"คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้อย่างไร" (how computers could solve problems on their own.)
ถ้าจะให้อธิบายอย่างง่ายๆ AI ก็คือ
คอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติและความสามารถคล้ายมนุษย์อีกทั้งยังสามารถทำงานได้อย่างลงตัว
(seamlessly) หรือ อาจเรียกได้ว่า AI ก็คือ วิทยาศาสตร์ของการเลียนแบบทักษะของมนุษย์
Machine learning เป็นเพียงซับเซ็ตของ AI ที่จะเจาะจงไปที่การฝึกฝน(train)เครื่องจักร(machine) โดย machine ก็จะพยายามหารูปแบบ(pattern)ต่างๆของข้อมูล(input data )ที่ถูกใส่เข้ามาเพื่อในการ train , กล่าวโดยสรุป เราไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมหรือสร้าง modelขึ้นมาเอง สิ่งที่เราต้องทำก็ให้ข้อมูลหรือตัวอย่างกับตัว machine เพราะว่า machine จะพยายามสร้าง model ที่ใช้วิเคราะห์ pattern ของข้อมูลที่ได้จากการ train โดยตัวของมันเอง ( เป็นที่มาของคำว่า machine learning นั่นเอง
AI ถูกใช้ที่ไหนบ้าง ???
ปัจจุบัน ได้มีการนำ AI มาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง อาทิเช่น
การนำเอา AI ไปประยุกต์ใช้ในงานที่ซ้ำซ้อน ยกตัวอย่างเช่น AI ในกระบวนการผลิตต่างๆ ซึ่งเป็นงานต้องใช้ความปราณีต เเละ ทำเหมือนเดิมตลอดเวลา(จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต ) การนำ AI มาประยุกต์ใช้จะช่วยเพิ่มผลผลิต เเละ ยังลดตวามผิดพลาดในการผลิต เพราะว่า AI ไม่จำเป็นต้องพักและไม่มีความรู้สึกเหนื่อยล้าอีกทั้งยังไม่มีความรู้สึกเบื่อหน่ายต่องานที่ทำ
การนำเอา AI มาพัฒนาผลิตภัณฑ์(product)ที่มีอยู่แล้ว ก่อนจะถึงยุคของ machine learning , product มักจะอยู่ในรูปแบบของโค้ดเเต่เพียงอย่างเดียว อยากได้อะไร มีฟังก์ชันเเบบไหน ก็ต้องลงมือทำขึ้นมาเองทั้งสิ้น ( hard-code rule ) . ลองนึกถึง facebook สมัยก่อน ที่เวลาเราอัพโหลดรูปภาพ เราต้องเสียเวลามานั่งแท็กเพื่อนทีละคนๆ แต่ปัจจุบัน facebook มี AI ที่ช่วยในการแท็กรูปได้อย่างอัตโนมัติ
ปัจจุบัน AI ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในเกือบทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่ระดับการตลาด(marketing) ไปถึงระดับห่วงโซ่อุปทาน(supply chain ) , การเงิน (finance ) , การกระบวนการทำอาหาร
(food-processing sector ) จากผลสำรวจของบริษัท
McKinsey พบว่า
การให้บริการให้การเงิน (financial services ) และการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย
( high tech communication ) เป็นด้านที่มีการใช้ AI เป็นระดับแนวหน้า เมื่อเทียบกับด้านอื่นๆ
อาชีพไหนรอด อาชีพไหนร่วง ???
งานจิตอาสา งานเพื่อสังคม นางพยาบาล นักบำบัด นักจิตวิทยา งานที่ต้องใช้ทักษะด้านเจรจา และโดยเฉพาะสายอาชีพศิลปะแขนงต่างๆ ที่จะใช้สมองซีกซ้ายในคิดเป็นส่วนใหญ่ อาชีพที่มักใช้อารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องกับงาน เช่น Artists, Designers, Engineers ยังอยู่รอดปลอดภัย เพราะอาชีพเหล่านี้อาศัยทักษะพิเศษ การคิดแบบ Original Ideas ยากที่จะลอกเลียนแบบ ไม่มีแพทเทิร์นที่ตายตัว
งาน Routine
อาชีพที่ทำงานซ้ำๆ
เดิมๆ งานที่ใช้แรงงาน (Blue – collar) ไม่ได้ใช้ความรู้ในระดับเชี่ยวชาญและเฉพาะทางจริงๆ
คุณกำลังเข้าข่ายเส้นยาแดง และคุณจะโดนกลืนกิน แทนด้วยเทคโนโลยีในที่สุด เช่น Cashier, Telephone salesperson, คนงานในโรงงาน, คนขับรถแท็กซี่ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพขึ้นไปอีก Financial industry (อุตสาหกรรมการเงิน)
ก็ถือว่ามีแนวโน้มสูงมากทีเดียว เนื่องจาก Machine
Learning สามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงินและเตรียมข้อมูลบัญชี ได้อย่างแม่นยำ
โดยไม่ต้องอาศัยนักบัญชี (ที่มีโอกาสคำนวณพลาด) อีกต่อไป
ตัวอย่างที่มีเห็นอย่างเด่นชัดคือ ATM และ Mobile Banking ได้เข้ามาแทนที่งานหลายส่วนของมนุษย์ไปแล้วเรียบร้อย
ควรเตรียมตัวรับมือยังไง???
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น